เคมี3
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด
สมบัติของสารละลายกรด – เบส
สารละลายต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน
มีทั้งชนิดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนหรือ ที่เรียกว่า มีสมบัติเป็นกรด
และชนิดที่มีสมบัติเป็นเบส สารบางชนิดเป็นอันตราย
แต่บางชนิดสามารถนำมา ใช้ประโยชน์ได้ สมบัติของสารละลายกรด-เบส
จึงเป็นเกณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ใน การจำแนกประเภทของสาร
กรด หมายถึง สารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ
เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ ไฮโดรเจนไอออน ( H+ )
สมบัติของสารละลายกรด
1. กรดทุกชนิดมีรสเปรี้ยว
2.
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง (มีค่าpH น้อยกว่า 7)
3.
ทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น สังกะสี ทองแดง แมกนีเซียม อะลูมิเนียม
จะได้ฟองแก๊สไฮโดรเจนออกมา
4. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน เนื้อเยื่อของร่างกาย
ถ้ากรดถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังไหม้ ปวด แสบปวดร้อน ถ้ากรดถูกเส้นใยของเสื้อผ้า
เส้นใยจะถูกกัดกร่อนให้ไหม้ได้ นอกจากนี้ยังทำลายเนื้อ ไม้ กระดาษ
และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย
5.
กรดทำปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต
ทำให้หินปูนกร่อน จะได้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีสมบัติทำให้น้ำปูนใสขุ่น
6.
สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี
เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน
7.
ทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้ำ
8.
กรดทำปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจนซึ่งเป็นแก๊สที่เบา ติดไฟได้
ประเภทของสารละลายกรด สารละลายกรดแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.
กรดอินทรีย์ (Organic acid) เป็นกรดที่ได้จากธรรมชาติ จากสิ่งมีชีวิต เช่น
- กรดแอซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม
ได้จากการหมักแป้งหรือน้ำตาลโดยใช้จุลินทรีย์ ซึ่งนิยมใช้ใน การผลิตน้ำส้มสายชู
-
กรดซิตริก (citric acid) หรือกรดมะนาว
เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม
มะนาว
- กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) หรือวิตามินซี
มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
- กรดอะมิโน (amino acid) เป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน
มักพบในเนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็ง หรือพืชตระกูลถั่ว
2.
กรดอนินทรีย์(Inorganic Acids) เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้ มีความ สามารถในการกัดกร่อนสูง
ถ้าถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของร่างกายจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน
ตัวอย่างเช่น
- กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ
- กรดไนตริก (nitric acid) หรือกรดดินประสิว
- กรดคาร์บอนิก (carbonic acid) หรือกรดหินปูน
- กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน
สารละลายเบส
เบส คือ สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรด
แล้วได้เกลือกับน้ำจะสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) เบสทุกชนิดจะมีรสฝาด
สมบัติของสารละลายเบส
1.
เบสทุกชนิดมีรสฝาดหรือเฝื่อน
2.
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน (มีค่าpH มากกว่า 7)
3.
ทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมู
จะได้สารละลายที่มีฟองคล้ายสบู่
4.
ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียไนเตรตจะได้แก๊สที่มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย
5.
สามารถกัดกร่อนโลหะ อะลูมิเนียมและสังกะสี และมีฟองแก๊สเกิดขึ้น
6.
ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ เช่น สารละลายโซดาไฟ
(โซเดียมไฮดรอกไซด์) ทำปฏิกิริยากับ กรดเกลือ
(กรดไฮโดรคลอริก) ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์
หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้ โซดาไฟยังสามารถทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน
ได้เกลือโซเดียมของกรดไขมัน หรือที่เรียกว่า สบู่
ประเภทของเบส
ตัวอย่างสารละลายเบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม มีดังต่อไปนี้
1.
สารประเภททำความสะอาด
- โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ใช้ทำสบู่
- แอมโมเนีย (CH3) น้ำยาล้างกระจก,น้ำยาปรับผ้านุ่ม
- โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) อุตสาหกรรมผงซักฟอก
2.
สารปรุงแต่งอาหาร
- โซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH) ทำผงชูรส
-
โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) ทำขนม
3.
สารที่ใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ย
- ยูเรีย [CO(NH2)2] ใช้ทำปุ๋ย
- แคลเซียมไฮดรอกไซด์ [Ca(OH)2] แก้ดินเปรี้ยว
4.
ยารักษาโรค
- NH3(NH4)2CO3 แก้เป็นลม
- แคลเซียมไฮดรอกไซด์
[ Ca(OH)2] ลดกรดในกระเพาะอาหาร
- แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ [ Mg(OH)2] ลดกรดในกระเพาะอาหาร , ยาถ่าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น